เมนู

จักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด. ที่ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลี
นี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ทรวดทรง. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง. บทว่า สีเล
ได้แก่ ในศีล 4 อย่าง. บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ 3 อย่าง. บทว่า
ปญฺญาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อสาทิโส แปลว่า
ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.
บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระ-
องค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณ
ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มี
ใครเสมอ ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถา
เพียงเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
กำลังพระยาช้าง 10 เชือก เป็นกำลังปกติใน
พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้าง
ฉัททันต์ 1. เชือก. จริงอยู่กำลังของพระตถาคตมี 2 คือ กำลังพระกาย 1
กำลังพระญาณ 1. บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนว
ตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง 10 ตระกูลเหล่านี้.

กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยํ ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
คนฺธมงฺคลเหมสญฺจ อุโปสถฉทฺทนฺติเม ทส.
ช้าง 10 ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ คังเคยยะ
ปัณฑระ ตัมพะ ปิงคละ คันธะ มังคละ เหมะ
อุโปสถะ ฉัททันตะ.
กาฬวกะได้แก่ ตระกูลช้างปกติ. กำลังกายของบุรุษ 10 คน เป็นกำลัง

ของช้างตระกูลกาฬาวกะ 1 เชือก. กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ 10 เชือก
เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ 1 เชือก พึงนำกำลังของช้างตระกูลต่างๆ
โดยอุบายดังกล่าวมานี้จนถึงกำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ กำลังของช้างตระกูล
ฉัททันตะ 10 เชือก เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว. กำลังของพระ-
ตถาคตนี้นี่แลเรียกกันว่า กำลังนารายณ์ กำลังวชิระ. กำลังของพระตถาคตนี้
นั้น เท่ากับกำลังช้างโกฏิพันเชือกโดยนับช้างตามปกติ เท่ากับกำลังของบุรุษ
สิบโกฏิพันคน. กำลังพระวรกายปกติของพระตถาคตมีดังนี้ก่อน. ส่วนกำลัง
พระญาณ หาประมาณมิได้ กำลังพระญาณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ พระทศพล-
ญาณ พระจตุเวสารัชญาณ พระอกัมปนญาณในบริษัท 8 พระจตุโยนิปริ-
เฉทกญาณ พระปัญจคติปริเฉทกญาณ พระพุทธญาณ 14. แต่ในที่นี้ ประสงค์
เอากำลังพระวรกาย. บทว่า กาเย ตุยฺหํ ปากติกํ พลํ ความว่า กำลัง
ตามปกติในพระวรกายของพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า ทสนาคพลํ
จึงมีความว่า เท่ากับกำลังของพระยาช้างตระกูลฉัททันต์ 10 เชือก.
บัดนี้ เมื่อแสดงกำลังพระญาณ ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ไม่มีผู้เสมอ
ด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ในการประกาศพระธรรมจักร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อิทฺธิพเลน อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้เปรียบ.
บทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน ความว่า ไม่มีผู้เสมอแม้ในพระเทศนาญาณ.

บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระ-
ศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดา
พระองค์นั้น ทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลาย จงนมัสการ
พระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ
ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น
พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าว
มาแล้ว. ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณฺเปตํ นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึง
ไม่เหลือเลย. คุณ ศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฏใช้ในอรรถเป็นอันมาก.
จริงอย่างนั้น คุณ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า
อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่. ที่ใช้ในอรรถว่า
กลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา
อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.
ที่ใช้ในอรรถว่า อานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา
ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย. ที่ใช้ในอรรถว่า พวง
ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก. ที่ใช้
ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺฐ คุณ สมุเปตํ อภิญฺญาพลมาหรึ
นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ 8. แม้ในที่นี้ก็พึง